โรงพยาบาลโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

กฎหมาย “PDPA” คือ

กฎหมาย “PDPA” คือ

Personal Data Protection Act

กฎหมาย “PDPA” คือ

          Personal Data Protection Act หรือ PDPA คือ เป็น พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็น กฎหมายที่ออกมาคุ้มครองสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อการควบคุมไม่ให้องค์กรนำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม ซึ่งในปัจจุบันมีการล่วงละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การครอบครองเบอร์โทรศัพท์ โดยการซื้อฐานข้อมูลมาจากที่อื่นและโทรไปหาโดยที่ไม่มีการรับรู้จากเจ้าของเบอร์โทรศัพท์นั้น หรือการที่เราได้รับโฆษณาบน Social Media จากข้อมูลการใช้งานของเรา โดยที่เราไม่รู้ตัว หรือไม่ได้ยินยอมให้องค์กรเก็บข้อมูล เป็นต้น

ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพราะข้อบังคับกฎหมาย PDPA จะให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การศึกษา ประวัติสุขภาพ และข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอื่นๆ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ เลขบัตรประชาชน หรือข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม

ข้อบังคับกฎหมาย PDPA จะเริ่มบังคับใช้เมื่อไหร่

          โดยครั้งแรก PDPA เคยมีการประกาศบังคับใช้ในวันที่ 27 พ.ค. 2564 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 12 พ.ค. ได้มีประกาศเลื่อนบังคับใช้ออกไปอีก 1 ปี เพราะฉะนั้นจะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565

บทลงโทษตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
         
บทลงโทษของ PDPA นั้น มี 3 ประเภท คือ
          โทษทางแพ่ง เกิดจากมีการกระทำความผิดทางแพ่ง คือ มีการทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายทางใดทางหนึ่ง เช่น เสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง หรือสิทธิของบุคคลนั้น ผู้กระทำความผิดจึงจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย (ค่าสินไหมทดแทน) เป็นตัวเงิน โดยมีการกำหนดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิด บวกกับ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มเติมสูงสุดเป็น 2 เท่าของค่าเสียหายจริง

EXP. ค่าสินไหมทดแทน + (ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ x 2)
1,000,000 + (1,000,000 x 2) = 3,000,000

          โทษทางอาญา เกิดจากมีการกระทำความผิดต่อส่วนรวมซึ่งส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและประชาชน รัฐจึงกำหนดโทษไว้สำหรับลงโทษผู้กระทำความผิดประเภทนี้ โดยโทษทางอาญามี 5 อย่างคือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน โทษทางอาญาของ PDPA มี 2 โทษคือ โทษจำคุก และ โทษปรับ ถึงตรงนี้หลายคนคงจะงงว่า หากผู้กระทำผิดเป็นบริษัท (นิติบุคคล) แล้ว บริษัทจะได้รับโทษจำคุกได้ยังไง คำตอบคือ กรรมการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้นๆ นั่นแหละ ที่อาจจะได้รับโทษจำคุก และโทษอาญาที่สูงที่สุดของ PDPA คือ โทษจำคุก 1 ปี หรือปรับ 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษสูงสุดนี้มาจากการใช้หรือเปิดเผยข้อมูล หรือส่งโอนข้อมูลไปต่างประเทศในส่วนที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล sensitive ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ PDPA เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และโทษปรับนี้เป็นคนละส่วนต่างหากจากการชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งที่กล่าวในข้อ 1 ข้างต้น

          โทษทางปกครอง คือการลงโทษผู้กระทำความผิดที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องกระทำ แต่ยังไม่ร้ายแรงถึงระดับความผิดทางอาญาที่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม โทษทางปกครองของ PDPA คือโทษปรับเป็นตัวเงิน ซึ่งมีตั้งแต่ 1 ล้านบาทไปจนถึง 5 ล้านบาท โดยกรณีที่จะโดนโทษปรับสูงสุด 5 ล้านบาทนี้ คือกรณีที่มีการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูล หรือส่งโอนข้อมูลไปต่างประเทศในส่วนที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล sensitive และแน่นอนว่า โทษปรับนี้เป็นคนละส่วนต่างหากจากการชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งและโทษปรับทางอาญา

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ [   Personal Data Protection Act.pdf ]

: 13 ธันวาคม 2022 : Admin 681

  ติดตามกิจกรรมดีๆ @